ภารกิจพิเศษ วิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องสังข์ศิลป์ชัย
บทที่ ๑
สรุปเนื้อหาวรรณกรรม เรื่องสังข์ศิลป์ชัย
นานมาแล้วมีเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองปัญจาล(เป็งจาล)
มีพระราชาพระนามว่า ท้าวกุศราช มีมเหสีชื่อนางจันทาเทวี ต่อมาพระขนิษฐาของท้าวกุศราชชื่อนางสุมณฑา ถูกยักษ์กุมภัณฑ์ลักพาไปเป็นชายาโดยที่ท้าวกุศราชไม่สามารถจะทำอะไรได้พระยากุศราชเสียใจมาก
จึงออกบวชติดตามไปถึงเมืองจำปาและได้พบธิดาทั้ง ๗ ของ
นันทะเศรษฐี
จึงสึกและขอนางเป็นมเหสีพระยากุศราชเรียกมเหสีทั้ง ๘ มาให้ทุกนางตั้งจิตอธิษฐานขอเอาลูกชายผู้มีบุญฤทธิ์มาเกิดเพื่อจะได้ติดตามเอานางสุมุณฑากลับคืนมา
อยู่มาไม่นานพระชายาทั้งเจ็ดและพระมเหสีตั้งครรภ์ ประสูติออกมาเป็นโอรสทุกพระองค์ พระมเหสีนางจันทาเทวีประสูติโอรสเป็นราชสีห์ชื่อว่า
" สีโห" ส่วนพระชายาองค์สุดท้องประสูติโอรสชื่อว่า " สินไซ (ศิลป์ชัย) " และมีสังข์เป็นอาวุธติดมือมาพร้อมกับประสูติ หมอหูฮา (โหรา)
ทำนายว่าพระโอรสสินไซมีบุญญาธิการมาก สามารถปราบยักษ์และศัตรูได้ทั่วจักรวาล
พี่สาวทั้งหกอิจฉาน้องสาวมาก
จึงติดสินบนหมอหูฮาให้ทำนายเท็จกราบทูลท้าวกุศราช ท้าวกุศราชจึงจำยอมขับไล่นางและโอรสสินไซออกจากเมือง
เพราะหมอหูฮาทูลว่าพระโอรสจะนำความวิบัติมาสู่บ้านเมือง
ท้าวสีโหโอรสมเหสีจันทาเทวีขอติดตามสินไซไปด้วยมารดาสินไซพร้อมด้วยท้าวสีโหและสินไซก็เดินป่าพเนจรไป
พระอินทร์ทราบเรื่องจึงมาเนรมิตกระท่อมให้แม่ลูกอาศัยอยู่ หกกุมารเจริญวัยได้เสด็จประพาสป่ามาพบกระท่อมของสินไซและมารดา
สินไซได้แสดงอภินิหารให้กุมารทั้งหกชม
วันหนึ่งกุมารทั้งหกอยากอวดอิทธิฤทธิ์ให้บิดาชม
จึงมาติดสินบนให้สินไซเรียกสัตว์เข้าเมือง
พระบิดาเห็นดังนั้นจึงคิดว่าพระกุมารมีอิทธิฤทธิ์สามารถเรียกสัตว์ป่าได้จริง ๆ พระบิดาจึงสั่งให้กุมารทั้งหกไปติดตามหานางสุมณฑาที่ยักษ์ลักพาไป
พระกุมารทั้งหกจึงอ้อนวอนให้สินไซช่วยเหลือไปตามพระเจ้าอา
พระมารดาไม่อยากให้สินไซไป แต่สินไซได้รับรองกับพระมารดาว่าตนเองมีอิทธิฤทธิ์
มีทั้งสังข์ และท้าวสีโหที่จะช่วยขจัดภัยพิบัติทั้งปวง พระมารดาจึงยินยอมให้ไปกับกุมารทั้งหกเมื่อกองโยธาไปถึงฝั่งมหาสมุทรสินไซจึงให้กองโยธาและกุมารทั้งหกตั้งทัพคอยอยู่ที่ฝั่งน้ำ
ตนและสีโหจะไปยังเมืองยักษ์ติดตามนางสุมณฑาเอง
สินไซก็ขี่ท้าวสีโหเหาะไปจนถึงเมืองยักษ์
ได้พบนางสุมณฑาเล่าเรื่องของตนให้ฟัง นางสุมณฑาก็ยินดีแต่นางเองก็ห่วงพระธิดาชื่อนางสุดาจันทร์ ที่ตกเป็นชายาท้าววิรุณนาค เพราะยักษ์ผู้เป็นบิดาเสียพนันกับท้าววิรุณนาค
เมื่อยักษ์ผู้เป็นสามีนางสุมณฑาเข้าเมืองทราบว่ามีมนุษย์อยู่ในปราสาท
จึงตามหาจนพบสินไซ ทั้งสองรบกันด้วยศาสตร์ศิลป์ต่าง ๆ นานาในที่สุดสินไซก็ฆ่ายักษ์กุมภัณฑ์ได้
และไปเมืองนาคเล่นพนันเอาเมืองกับท้าววิรุณนาค ท้าววิรุณนาคแพ้ยอมยกเมืองให้
แต่ไม่ยอมให้นางสุดาจันทร์ ทั้งสองจึงรบกันสินไซชิงนางไปได้
จึงพานางสุดาจันทร์และนางสุมณฑากลับมายังฝั่งมหาสมุทรที่กุมารตั้งทัพคอยอยู่
กุมารทั้งหกดีพระทัยมาก แต่ไม่รู้จะไปทูลพระบิดาอย่างไรดี จึงหาอุบายฆ่าสินไซ
เมื่อได้โอกาสจึงผลักสินไซตกเหวพร้อมกับสีโห
หกกุมารจึงยกทัพกลับเมืองพานางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์เข้าเมือง
ระหว่าทางนางสุมณฑาเป็นห่วงสินไซมาก แต่ก็จนใจจึงนำซ้อง ปิ่นปักผมและผ้าสไบแขวนไว้อธิษฐานว่าหากสินไซยังมีชีวิตอยู่
ขอให้นางได้พบผ้าผืนนี้อีก หกกุมารยกทัพกลับถึงเมืองท้าวกุศราชบิดาทรงดีพระทัยมาก
ที่หกกุมารมีอิทธิฤทธิ์ปราบยักษ์ปราบนาคได้สำเร็จ จึงจัดงานเฉลิมฉลองเป็นการใหญ่
ส่วนนางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์ไม่กล้าจะทูลความจริง เพราะคิดว่าสินไซคงตายแล้ว
วันหนึ่งพ่อค้าสำเภาได้พบผ้าสไบซึ่งเป็นผ้ากษัตริย์
จึงนำมาถวายท้าวกุศราช นางสุมณฑาเห็นผ้าของตนที่อธิฐานไว้
จึงทราบว่าพระสินไซยังมีชีวิตอยู่ จึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ท้าวกุศราชฟัง
ท้าวกุศราชจึงจัดงานฉลองพระนครเจ็ดวันเจ็ดคืน เพื่ออุบายให้ท้าวสินไซมาเที่ยวงานเฉลิมฉลอง
และให้นางสุมณฑาคอยติดตามดูคนมาเที่ยวงานเพื่อตามหาสินไซ
ฝ่ายสินไซเมื่อถูกผลักตกเหวร้อนถึงพระอินทร์ ๆ
มาช่วยชุบชีวิตแล้วให้กลับไปอยู่กับมารดาตามเดิมเมื่อมีงานฉลองพระนครก็ไปเดินเที่ยว
นางสุมณฑาพบเข้าจึงให้เข้าเฝ้าท้าวกุศราช ๆ สอบถามความจริงจึงสั่งให้ประหารหมอหูฮา
และขับไล่พระกุมารทั้งหกและพระชายาทั้งหกไปอยู่เมืองจำปา
ท้าวกุศราชก็แต่งราชรถไปรับพระชายาและสินไซเข้าเมือง ส่วนนางสุดาจันทร์ท้าววิรุณนาคมาขอไปเป็นชายาเหมือนเดิม
ท้าวสินไซก็ได้ครองราชย์ปกครองราษฎรอยู่ในทศพิธราชธรรมสืบมา
ที่มาและความสำคัญ
สังข์ศิลป์ชัย เป็นวรรณกรรมที่นักปราชญ์ได้นำเอาคำสอน
ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม มาสอนผู้นำและประชาชนทั่วไป และสอดแทรกด้วยความสนุกผจญภัย
รัก-โลภ-โกรธ-หลง-ชิงรักหักสวาท มีเล่ห์เหลี่ยมชิงไหวชิงพริบ
ผสมกลมกลืนได้อย่างลงตัว จึงทำให้วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการตอบรับจากสังคมในยุคสมัย
จนกระทั่งยอมรับนำเอาแนวปฏิบัติบางประการมาเป็นขนบธรรมเนียมของตน และเพื่อให้เผยแพร่ให้แก่ประชาชนทั่วไปที่แม้จะไม่ได้เรียนหนังสือ
ให้สามารถรับรู้เรื่องราวได้ จึงได้แปรรูปวรรณกรรมออกมาด้วยวิธีการที่หลากหลาย
เช่น การร้องหมอลำ เทศน์แหล่ หนังประโมทัย (หนังตะลุงอีสาน) ภาพจิตรกรรม และอื่นๆ
โดยเฉพาะการทำเป็นฮูบแต้ม (ภาพจิตรกรรมฝาผนัง) ที่เจตนาแต้มไว้ภายนอกสิม (โบสถ์)
ยิ่งแสดงถึงเจตนาของความศรัทธาที่อยากจะให้ผู้เลื่อมใสศรัทธา
โดยเฉพาะสตรีที่เข้าไปภายในสิมไม่ได้ และส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือจะได้เข้าใจเรื่องราวผ่านทัศนศิลป์เหล่านั้น
ในปัจจุบันมีนักวิชาการหรือผู้สนใจได้พยายามศึกษาที่มาของเรื่อง
สำนวนภาษา เรื่องราว วัฒนธรรมประเพณี และศิลปะแขนงต่างๆที่บูรณาการอยู่ในเรื่องสินไซ
ทำให้ได้ทราบรากเหง้าของตนเองว่าบรรพบุรุษมีแนวความเชื่ออย่างไร จึงสามารถนำพาลูกหลานดำเนินวิถีชีวิตมาได้อย่างสันติสุข
สังข์ศิลป์ชัย เป็นวรรณกรรมที่ได้เค้าโครงหรือนำแนวคิดมาจาก
ปัญญาสชาดก ในปัญญาสชาดกฉบับของลาวนั้นเรียกว่า พระเจ้าห้าสิบชาติ ในลำดับที่ ๒๙ ชื่อเรื่องว่า
ท้าวพยากุดสะราดชาดก อันเป็นเรื่องหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคสมัยนั้น
ดังในบทไหว้ครูในสังข์ศิลป์ชัย (จินดา ดวงใจ, ๒๕๔๔: ๓ ) ที่ว่า
เมื่อนั้น ปางคำคุ้ม คนิงธรรมทงมาก เห็นฮุ่งญาณยอดแก้ว
เทียวไซ้ ชาติพะองค์ฯ...
บัดนี้จักปูนแต่งตั้ง ไขชาติ แปลธรรม ก่อนแล้ว เป็นที่ ยูแยงฝูง พ่ำเพ็ง พาซ้อย
ควรที่อัศจรรย์ล้ำ โลกา กงโลก เฮานี้ มีใน ห้าสิบชาติแท้ เทียวใช้ ส่งเวร เจ้าเฮย
ถอดความได้ว่า
“ท้าวปางคำ ระลึกพิจารณาถึงธรรมะที่มีคุณมาก อันเป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญบารี...
บัดนี้..ข้าพเจ้าจักเขียนอธิบายเรื่องราวพระอภิธรรม
(ธรรมะอันเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ หรือเรียกว่าวิมุติมรรค)
โดยการแปรรูปให้เป็นลักษณะของเรื่องราวการเกิดที่ขึ้นเป็นชาติต่างๆของพระโพธิสัตว์
เป็นสิ่งที่ช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลายได้พบแสงสว่าง
ผู้แต่ง
เจ้าปางคำแห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู ราชวงศ์เชียงรุ่งแสนหวีโบราณ
เรียบเรียงโดย
วรรณกรรมเรื่องสังข์ศิลป์ชัยนั้นมีการเรียบเรียงหลายคน
ทั้งในรูปแบบร้อยแก้ว ร้อยกรอง ดังนี้
๑.
รวบรวมโดย จินดา
ดวงใจ
๒.
รวบรวมโดย ครูประมวลพิมพ์เสน
๓.
เรียบเรียงเป็นภาษาไทยกลาง โดยวิเชียร
เกษประทุม
๔.
บทละครนอก สังข์ศิลป์ชัย พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้ายู่หัว
ต้นฉบับมาจากไหน
หนังสือสังข์ศิลป์ชัยถือว่าเป็นวรรณคดีขั้นสุดยอดของลาวอีกเล่มหนึ่ง
มหาสิลา วีระวงส์ ซึ่งเป็นผู้รวบรวมแก้ไขได้ให้ความเห็นว่า
หนังสือเรื่องนี้แต่งได้ถูกต้องตามแบบแผนของคำกลอนลาวอย่างแท้
ทุกถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้มีความหมายไพเราะ
แม้ในบทที่แสดงความโกรธแค้นก็ใช้ถ้อยคำสุภาพไม่หยาบคาย
และผู้รจนาหนังสือเล่นนี้ยังเป็นปราชญ์ที่มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแตกฉานในภาษาบาลี
มีความรู้ภาษาสันสกฤตและราชประเพณีเป็นอย่างดี
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
หนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นหนังสือสำคัญเล่มหนึ่งของลาว มีคนรู้จักกันแพร่หลาย
เรื่องสังข์ศิลป์ชัยนี้ ของเดิมเป็นหนังสือเทศน์ลำ เรียกว่า ลำสังข์ศิลป์ชัย หรือ
ศิลป์ชัยชาดก เป็นใบลานจารึกด้วยอักษรธรรม มีอยู่ทั้งสิ้น ๒๑ผูก
ของเดิมเป็นการเขียนแบบร้อยแก้ว
ผู้แต่งหนังสือสังข์ศิลป์ชัยเป็นคำกลอน คือ ท้าวปางคำ
ใช้สำหรับอ่านฟังในเวลาโศกเศร้า เช่น ในงานศพ (ลาวเรียกว่า งานเฮือนดี)
ท้าวปางคำผู้นี้ มหาสิลาฯ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์ที่ไปครองเมืองหนองบัวลำภู
แต่งปีไหน
ท้าวปางคำแต่งหนังสือเรื่องสังข์ศิลป์ชัยในราว
พ.ศ. ๒๑๙๒หนังสือเรื่องนี้มีผู้คัดลอกเขียนใส่ใบลานต่อ ๆ มา
มีการพิมพ์ทั้งภาษาลาวและภาษาไทยอย่างกว้างขวาง และปรากฏว่ามีบางตอนไม่ตรงกัน
ท่านมหาสิลาฯ ได้พยายามอ่านอยู่หลายฉบับ และนำมาเทียบเคียงกัน
เห็นว่าฉบับที่คัดลอกมาจาก จังหวัดอ่างทองของไทย และฉบับของท่านหยุย อภัย
จากเมืองโขง แขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดกันมามีข้อความตรงกัน
จึงได้ถือเอาต้นฉบับเมืองโขง มาแก้ไขเรียบเรียงและพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในประเทศลาวเมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๙๒หนังสือเล่นนี้ได้มีการพิมพ์ต่อมาอีกหลายครั้งจนถึงทุกวันนี้
จัดพิมพ์
หจก.โรงพิมคลังนานาวิทยา ๒๓๒/๑๑๙ ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ๔๐๐๐๐
จำหน่ายที่
บริษัท ขอนแก่น คลังนานธรรม จำกัด ๑๖๑/๖-๘ ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ๔๐๐๐๐
บทที่
๒
วิเคราะห์เนื้อหา
๑.ชื่อเรื่องมาจากไหน
เรื่องสังข์ศิลป์ชัยตั้งชื่อเรื่องตามชื่อของตัวละครเอกของเรื่อง
คือสังข์ และ ศิลป์ชัย ( สินไซ ) ซึ่งสังข์มีลักษณะพิเศษ
คือ คลอดออกมาเป็นหอยสังข์ส่วนศิลป์ชัยคลอดออกมาพร้อมกับพระขรรค์และศรศิลป์
๒. แก่นเรื่อง
ความรัก
โลภ โกรธ หลง อิจฉาริษยาเป็นต้นเหตุแห่งความวิบัติ
๓. โครงเรื่อง
เปิดเรื่อง
กล่าวถึงเมืองเปงจาลมีพระราชานามว่า
ท้าวกุศราชมีมเหสีคือนางจันทาเทวีมีน้องสาวคือนางสุมณฑาปกครองบ้านเมืองอย่างมีความสุข
การดำเนินเรื่อง
-
ท้าวกุศราชมีพระมเหสีชื่อนางจันทาเทวีมีน้องสาวคือนางสุมณฑา
- นางสุมณฑาถูกยักษ์ลักพาตัวไปเป็นภรรยา
- ท้าวกุศราชออกบวชเพื่อติดตามหาน้องสาว
- มเหสีทั้งแปดตั้งครรภ์และคลอดลูกเป็นกุมาร
- นางจันทาเทวีคลอดลูกเป็นสังข์ชื่อว่าสีโห
-
นางลุนคลอดลูกเป็นหอยสังข์ชื่อสังข์ทองและเป็นคนชื่อสินไซ
จุดสูงสุด
- สังข์ทองและศิลป์ชัยฆ่ายักษ์กุมภัณฑ์ตาย
คลายปม
-ศิลป์ชัยพานางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์กลับเมืองเปงจาล
-
กุมารทั้งหกผลักศิลป์ชัยตกเหวแต่พระอินทร์มาช่วยไว้ได้
- นางสุมณฑาเล่าความจริงทั้งหมดให้ท้าวกุศราชฟัง
ปิดเรื่อง
-
ศิลป์ชัยปกครองเมืองเปงจาลด้วยคุณธรรมบ้านเมืองสงบสุขร่มเย็น
๔. ตัวละครหลัก
๑. ศิลป์ชัย
เพศ : ชาย
ชาติ : มนุษย์
ฐานะ : ลูกกษัตริย์
ลักษณะ : เป็นมนุษย์เกิดมาพร้อมพระขรรค์และศรศิลป์ มีความชำนาญในการต่อสู้
เป็นโอรสของท้าวกุศราชและนางลุนเกิดมาพร้อมพระขรรค์และศรศิลป์
มีจิตใจดี และมีความชำนาญในการต่อสู้ทุกแขนงมีความยุติธรรม มีความรักความกตัญญูต่อบิดา มารดา และ ปกครองบ้านเมืองโดยทศพิธราชธรรม
๒. สังข์
เพศ : ชาย
เพศ : ชาย
ชาติ : เป็นสัตว์และมนุษย์
ฐานะ : ลูกกษัตริย์
ลักษณะ : ตอนเป็นหอยสังข์เปลือกสีขาว
ตอนเป็นมนุษย์เป็นผู้ชายรูปร่างงดงาม
เป็นโอรสของท้าวกุศราชและนางลุน
ตอนเป็นหอยสังข์เปลือกสีขาวตอนเป็นมนุษย์เป็นผู้ชายรูปร่างงดงามคอยให้ความช่วยเหลือศิลป์ชัยคู่กับสีโห
๓. สีโห
เพศ : ชาย
เพศ : ชาย
ชาติ : เป็นสัตว์คือราชสีห์
ฐานะ : ลูกกษัตริย์
ลักษณะ : หัวเป็นช้างลำตัวเป็นราชสีห์
เป็นโอรสของท้าวกุศราชและนางจันทาเทวี หัวเป็นช้างลำตัวเป็นราชสีห์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้
มีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือศิลป์ชัยตลอดทั้งเรื่องคู่กับสังข์
เหมือนพี่ชายใจดีที่คอยช่วยเหลือน้องเมื่อยามลำบากมีฤทธิ์หลายอย่างทั้งแปลงกายหรือต่อสู้กับยักษ์อย่างกล้าหาญโดยมีอาวุธที่วิเศษและพิเศษต่างจากผู้อื่นคือเสียงร้องที่ดังมากจนไปทำลายศัตรูคือยักษ์ให้ล้มตายได้
แต่เสียงนั้นจะไม่เป็นอันตรายต่อฝ่ายตนเอง
ตัวละครรอง
๑. ท้าวกุศราช
เป็นพระราชาครองกรุงมืองเปงจาล มีมเหสี
๘ คน เป็นคนโลเลไม่หนักแน่น และรักน้องสาวมากเป็น
พิเศษ
๒. นางจันทาเทวี
เป็นพระมเหสีเอกของท้าวกุศราช
รักลูก สามี และบ้านเมือง
๓. นางสุมณฑา
เป็นน้องสาวของท้าวกุศราช
มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ถูกยักษ์กุมภัณฑ์ลักไปเป็นชายา มีธิดา ๑ คน
ชื่อ
สุดาจันท์ มีความยุติธรรม
๔. นางสุดาจันท์
เป็นพระธิดาของนางสุมณฑา
กับ ท้าวกุมภัณฑ์ และ ถูกพ่อยกให้ป็นชายาท้าววิรุณนาคเพราะแพ้พนัน
๕. ยักษ์กุมภัณฑ์
เป็นยักษ์นิสัยพาล เหาะมาลักนางสุมณฑา
น้องสาวกุศราชไปเป็นชายา มีธิดา ๑ คน คือ นางสุดาจันท์
ชอบการพนัน จนต้องเสียลูกสาวให้ท้าววิรุณนาค
๖. มเหสีทั้งหก
เป็นมเหสีของท้าวกุศราช
และ เป็นพี่สาวของนางลุน
มีนิสัยอิจฉาริษยา เจ้าเล่ห์เพทุบาย
เห็นแก่ตัว
๗. กุมารทั้งหก
เป็นโอรสของท้าวกุศราชและพี่สาวทั้งหกของนางลุน มีนิสัย
โอ้อวด เห็นแก่ตัว
๕. ภาษา
ใช้ภาษาอะไรแต่ง ฉันทลักษณ์แต่งเป็นแบบไหน
วรรณกรรมสังข์ศิลป์ชัย
มีการรวบรวมและนำมาแต่งหลายรูปแบบแล้วแต่ละภูมิภาค สามารถสรุปได้ดังนี้
ภาคใต้
สังข์ศิลป์ชัยคำกาพย์ มีลักษณะคำประพันธ์เป็นกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘และกาพย์ยานี
๑๑ ประพันธ์โดยใช้ภาษาถิ่นภาคใต้
ภาคเหนือ
มีลักษณะคำประพันธ์เป็นคำกลอนประพันธ์โดย ใช้ภาษาถิ่นภาคเหนือ
ภาคกลาง
มีลักษณะคำประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
กลอนบทละคร และการ์ตูน มีการรวบรวมหลาย
คณะหลายสำนักพิมพ์ ประพันธ์โดยใช้ภาษาไทยกลาง
ภาคอีสาน
สินไซ นั้นเดิมได้ถูกแต่งเป็นแบบร้อยแก้ว
ต่อมาได้ถูกประพันธ์เป็นแบบร้อยกรองประเภทคำกลอน
เพื่อใช้อ่านให้ผู้คนฟังในวาระโอกาสต่างๆ หรือแม้ในการเทศน์ นอกจากนี้
ยังนิยมไปทำเป็นหมอลำและหนังประโมไทยด้วย
๖. ฉาก/สถานที่
ฉากหลัก
- การใช้ชิวิตอยู่ในป่าของสังข์ ศิลป์ชัย
สีโห และพระมารดา ทั้งสองพระองค์ และการออกติดตามอาของสังข์
ศิลป์ชัยและสีโห ซึ่งส่วนใหญ่มีการดำเนินเรื่องอยู่ในป่า มีการต่อสู้ ผจญภัย
เป็นการบรรยายฉากที่เป็นจริง
บรรยากาศ
ภูมิทัศน์ที่เป็นป่าจริงเช่น
น้ำตก เหว ป่าไม้
ภูเขา ถนนหนทางอันทุรกันดาร
ฉากรอง
- เมืองเปงจาลเป็นเมืองต้นกำเนิดของเรื่องทั้งหมด
- เมืองอโนราช เมืองของยักษ์กุมภัณฑ์
- เมืองจำปา เมืองของ
นันทะเศรษฐี
- เมืองบาดาล
ของท้าววิรุณนาค
บทที่ ๓
ความโดดเด่นวรรณกรรม
เรื่องสังข์ศิลป์ชัย
๑.
ด้านเนื้อหา
วรรณกรรมเรื่องสังข์ศิลป์ชัยได้ถ่ายทอดลักษณะความเป็นอยู่วิถีชีวิตความรู้สึกนึกคิดอันทรงคุณค่าด้านความรู้ที่ถือเป็นแนวปฏิบัติในสังคมอีสานตั้งแต่ในอดีตเช่นรัฐศาสตร์สุนทรียศาสตร์ประเพณีวัฒนธรรมเป็นต้น
และสอดแทรกคำสอน คุณธรรม จริยธรรม ความเชื่อ
และค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่น
ความซื่อสัตย์ อดทนกล้าหาญ กตัญญู
ความพอเพียง
การเป็นผู้นำที่ดี เป็นต้น
๒.
ด้านตัวละคร
๑. สีโห
มีลักษณะอันเป็นมงคล คือ ลักษณะส่วนหัวที่เหมือนช้าง หมายถึง
ความอุดมสมบูรณ์ คือ การมีเศรษฐกิจดีประชาชนมีความอยู่เย็นเป็นสุข รวมกับการที่ท้าวสีโหในวรรณกรรมสินไซที่มีเสียงดังมากแต่จะเป็นอันตรายเฉพาะศัตรูลักษณะส่วนลำตัวที่เหมือนราชสีห์
หมายถึง ความสง่างามและมั่นคง ศักดิ์สิทธิ์
๒. ศิลป์ชัย เป็นลักษณะของบุรุษที่ชาติต้องการคือ เป็นคนเก่ง
คนดี มีความกตัญญู ต่อบิดา มารดา
ชาติบ้านเมือง มีความซื่อสัตย์
อดทน กล้าหาญ และพอเพียง
๓.
ด้านฉันทลักษณ์
หนังสือเรื่องนี้แต่งได้ถูกต้องตามแบบแผนของคำกลอนลาวอย่างแท้
ทุกถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้มีความหมายไพเราะ
แม้ในบทที่แสดงความโกรธแค้นก็ใช้ถ้อยคำสุภาพไม่หยาบคาย และผู้รจนาหนังสือเล่นนี้ยังเป็นปราชญ์ที่มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแตกฉานในภาษาบาลี
มีความรู้ภาษาสันสกฤตและราชประเพณีเป็นอย่างดี
บทที่ ๔
การนำไปประยุกต์ใช้
วรรณกรรมเรื่องสังข์ศิลป์ชัยเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของชาวอีสานมีเนื้อเรื่องสนุกสนาน
- ในอดีตเจ้าจอมแว่น
พระสนมเอกในรัชกาลที่๑ ได้มอบหมายให้ชาวขอนแก่น นำมาจัดแสดงหมอลำ ที่กรุงเทพ
จนชาวกรุงเทพติดกันงอมแงมเลิกการละเล่นอื่นๆของตนเองทั้งหมด
- รัชการที่๔ออกกฎหมายฉบับที่
๒๖๗ มาแก้ไข คือ ให้งดการแสดงหมอลำทั่วราชอาณาจักรไทย
- การนำวรรณกรรมเรื่องสังข์ศิลป์ชัยไปทำการแสดงหมอลำ และหนังประโมทัย ในจังหวัดขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัด
อื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การใช้วรรณกรรมสังข์ศิลป์ชัยในพิธีกรรมภาคใต้เช่นโนราโรงครู (ไหว้ครูโนราห์)
ในตำบลท่าแค
อำเภอเมืองพัทลุงจังหวัดพัทลุงและใช้เรียกชื่อท่ารำหนึ่งในการรำมโนราห์ด้วย
- ในภาคเหนือ
วรรณกรรมเรื่องสังข์ศิลป์ชัยเป็นเรื่องที่มีบทบาทให้ความบันเทิงในหลายรูปแบบ เช่น
ใช้สวดในงานศพ ใช้เทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาฟังในงานบุญประเพณีต่างๆ
- นำมาเขียนเป็นฮูบแต้ม (ภาพจิตกรรมฝาผนัง
)ไว้ตามวัดต่างๆ เช่น
-ในสิมของวัดชัยศรีหรือวัดใต้
อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
-จิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิ์ธาราม
อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
-วัดสนวนวารีพัฒนาราม อำเภอบ้านไผ่
จังหวัดขอนแก่น
-ปี พ.ศ ๒๕๕๐ ได้จัดทำเป็นแบบเรียนเรื่อง สินไซ สำหรับหนังสือเรียนของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
จำนวน ๒๑ แห่ง
-ในปีพุทธศักราช๒๕๕๔จังหวัดขอนแก่นเป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติทางเทศบาลนครขอนแก่นในนามจังหวัดขอนแก่นได้ใช้รูปปั้นพญาสินไซเป็นสัญลักษณ์แทนความเชื่อของชาวจังหวัดขอนแก่นจุดไฟที่กระถางคบเพลิงแห่งการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ
-เทศบาลขอนแก่นได้นำรูปปั้นสีโหและพญาสินไซถือธนูพร้อมลูกศรยืนบนหอยสังข์สถิตมั่นอยู่บนหัวเสาไฟฟ้าบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองประตูเข้าเมืองขอนแก่นและบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น
-นำชื่อตัวละครไปตั้งเป็นชื่อถนน
สถานที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่นอีกด้วย เช่น ถนนสีโห
ห้องประชุมกุสราชห้องประชุมสุมณฑาถนนสีโหถนนหอยสังข์เป็นต้น
-ในจังหวัดมุกดาหารมีวัดแห่งหนึ่งที่ปรากฏรูปปั้น
สีโห คือ วัดศรีมงคลใต้ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
อ้างอิง
จินดา ดวงใจ .
นิทานสังข์ศิลป์ชัย.
ขอนแก่น คลังนานาธรรม.
วิเชียร เกษประทุม .
เล่าเรื่องสังข์ศิลป์ชัย.
รศ.ดร.โสวิทย์บารุงภักดิ์ .ดร.ทักษิณาร์ไกรราช. รายงานการวิจัยเรื่องเครือข่ายการเรียนรู้ : กระบวนการสร้างและ
การใช้ความรู้จากวรรณกรรมเรื่องสินไซสู่การพัฒนาสังคมของชาวจังหวัดขอนแก่น
มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่นพ.ศ.๒๕๕๘( bri.mcu.ac.th/research )
ณรงค์ศักดิ์ราวะรินทร์, วิทยาบุษบงค์ , ชวนากรจันนาเวช . ภาพสะท้อนทางสังคมจากองค์ประกอบเชิงซ้อนใน
วรรณกรรม :กรณีหนังสือ
“สังข์ศิลป์ชัย” ฉบับภาคใต้. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กาฬสินธุ์๑๖ปีที่๑ฉบับที่๒พฤษภาคม-สิงหาคม๒๕๕๗
สรุปเนื้อหาแบบอินโฟกราฟฟิก
นางสาววัชราภรณ์ ปาวงค์ รหัส ๕๗๒๑๐๔๐๖๓๓๕ หมู่ ๓ ปี ๓ สาขาวิชาภาษาไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น